วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

NPI Thailand ChapterI

"เริ่มแล้วคะ เค้าเริ่มทำกันแล้วคะ" ก้าวแรกของงาน NPI (National Progress Index)

ช่วงหนึ่งของชีวิต ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน "แผนงานขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าที่แท้จริง" ได้เปิดหู เปิดตา ฝ่าเข้าไปในสมองซีกขวา แล้วจินตนาการออกมาเป็นภาพของเมืองไทย ที่เวลาใครจะทำอะไรหรือตัดสินใจอะไรสักอย่าง เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ก่อนที่จะวางแผนและตัดสินใจ ซึ่งตรงเผงกับเป้าหมายของการทำงาน NPI เลยคะ ในวงของการพูดคุยกันเรื่อง NPI นั้น มีเป้าหมายในช่วงแรกเริ่มของโครงการ"ไม่มาก ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ ก็สบายมาก" คือ

"การสร้างวัฒนธรรมการวางแผน และการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่สะท้อนภาพของการพัฒนาในมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมเพื่อให้การวางแผนและการตัดสินใจเป็นไปโดย การใช้เหตุผลอย่างรอบครอบ เพื่อสร้างสมดุลของการพัฒนา และสร้างภูมิคุ้มกันในการพัฒนา)"
โดยงานนี้ เค้ามีโค๊ดไม่ลับ ในการสร้างรหัสทางวัฒนธรรมในการทำงาน ที่น่าสนใจมาก
ก่อนที่เราจะ โอเค เราคงเคยมีความรู้สึกแบบว่า "เอ๊ะ(นี่มันเรื่องอะไร) อ๋อ(เรื่องมันเป็นอย่างนี้นี่เอง) อืมม์(คนอื่นก็มีมุมมองที่น่าสนใจเหมือนกันนะ ก็โอ(เค)นะ" อะไรประมาณนี้หรือเปล่า

นี่แหละคือ "รหัสทางวัฒนธรรมในการทำงาน"
เอ๊ะ : สนใจและสงสัยในข้อมูลที่สะท้อนภาพการพัฒนา
อ๋อ : ค้นหาสาเหตุและทางออก
อืมม์ : รับฟังมุมมองอื่นอย่างตั้งใจ
โอ(เค) : พร้อมตกลงใจร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง

โครงการนี้ได้ได้เริ่มออกสตาร์ทอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมี

“การลงนามภาคีความร่วมมือ แผนงาน ขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีความก้าวหน้าของชาติ (National Progress Index)”
งานแถลงข่าวเปิดตัวแผนงานขับเคลื่อนสังคมดัวยดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าที่แท้จริง
พฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554 เวลา 9.30 – 12.00 น.
ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
 หรือ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ (สวนรถไฟ)



โดยมี นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนายการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางดวงกมล อิศรพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนทางสังคม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งชาติไทย
และทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. เป็นตัวแทนในการลงนามครั้งนี้
และได้พูดคุยในเรื่องของนิยามมุมมองความก้าวของสังคมไทย ดังนี้



นพ.อภิชัย มงคล
“ในสังคมที่มีความเชื่อมโยงเป็นสายสัมพันธ์ซึ่งกัน เราจะต้องมองมิติความก้าวหน้าที่มากกว่าเรื่องเรื่องเศรษฐกิจ หรือตัวเงิน เพียงอย่างเดียว ในขณะนี้ข้อมูลมีอยู่แล้วในทุกๆภาคส่วน อยู่ที่ว่าเราจะนำข้อมูลมาสะท้อนความยั่งยืนของประเทศไทยให้ไปในทิศทางไหน ในการร่วมขับเคลื่อนในครั้งนี้ สำนักงานสถิติฯจะ ได้มีโอกาสนำข้อมูลมาร่วมบูรณาการกับภาคส่วนวิชากร ต่างๆ จากหลายๆภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐเอกชน ประชาสังคม และสื่อมวลชน เพื่อที่ข้อมูลตรงนี้จะได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ วางแผนประเทศภาคส่วนต่างๆต่อไป”




นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์
“หลายท่านคงแปลกใจถึงที่มาที่ไปของการมาร่วมของ กรมสุขภาพจิตในครั้งนี้ จะพบว่าผลจากการสำรวจที่จะได้นำเสนอต่อไปในวันนี้ ถามว่าประชาชนให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อชีวิตของพวกเขาในเรื่องอะไรบ้าง ผลจากการสำรวจพบว่า ประชาชนให้ความสนใจเรื่องสุขภาพจิต เป็นเรื่องต้นๆรองจากเรื่องสุขภาพกาย จึงเห็นว่า กรมฯควรจะเข้ามาสนับสนุนการเคลื่อนไวอันนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก กรมฯเองก็มีวัตถุประสงค์ที่อยากจะทำให้เกิดความสุขที่ยั่งยืนในสังคมไทย เราอยากจะนำความสุขมาร่วมสนับสนุนความก้าวหน้าเพื่อให้ประเทศชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี”




นางดวงกมล อิศรพันธุ์
“เป้าประสงค์หลักของทีวีสาธารณะ คือ ความต้องการการมีส่วนร่วมจากภาคข่ายต่างๆในสังคมมาร่วมกันพัฒนารายการด้วยกัน และได้นำเสนอประเด็น รวมทั้งสาระต่างๆทางหน้าจอโทรทัศน์ หรือสื่อที่ Thai PBS มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และส่งเสริมให้สังคมเกิดสุขภาวะ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นสื่อสาธารณะที่จะได้เป็นภาคี และนำความรู้มาร่วมกัน พัฒนาเป็นรายการโดยใช้ดัชนีวัดความก้าวหน้าของประเทศมาเพื่อนำเสนอให้เข้าถึงประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกหนึ่งแรง”




ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์
“คิดว่าเป็นมิติของการทำงานเชิงวิชาการและการสื่อสารต่อสังคมอย่างเป็นระบบ ด้วยมีความร่วมมือจากภาคีต่างที่มาในวันนี้ ถ้าเปรียบกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ หากเดินทางผิด ก็จะส่งผลให้ธุรกิจ หรือประเทศแย่ลง ไม่มีความสุข และไม่มีความก้าวหน้าที่แท้จริง เมื่อก่อนมีหลายคนพูดว่าเมื่อเศรษฐกิจดีแล้วประเทศก็จะดีขึ้นเอง แต่ข้อมูลที่ออกมาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ยืนยันได้เป็นอย่างชัดเจน แม้รายได้ GDP ของประชาชนเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศก้าวหน้าอย่างแท้จริง ประเทศที่จะไปได้ดีควรจะมี ดัชนีความก้าวหน้าของชาติ หรือเรียกสั้นๆว่า NPI ที่จะเป็นตัวสำคัญในการชี้วัดความก้าวหน้าของประเทศ และจะต้องสร้างความสมดุลในด้านต่างๆซึ่งแผนงานนี้ก็จะได้พัฒนาเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้นต่อไป เรื่องที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ ทั้งผู้คิดค้น/กำหนด ผู้ขับเคลื่อน ผู้รับรู้หรือประชาชน ควรจะเข้าใจในแผนงานนี้ให้เป็นไปในทางทิศเดียวกัน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะได้สื่อสารข้อมูลชุดนี้นี้ออกไปสู่ประชาชนเพื่อประชาชนจะได้สะท้อน มีการสำรวจสาธารณะมติของประชาชนว่าประชาชนมีความคิดเห็นต่อทิศทางนั้นๆอยางไร ไม่ใช่เพียงแค่นักวิชาการวงล็กๆมานั่งทำกันเท่านั้น เราก็คาดหวังว่าประเทศเราจะมีบัญชีความก้าวหน้าของประเทศขึ้นมา
ก็เหมือนกับทางด้านเศรษฐกิจก็จะมีบัญชีประชาชาติด้านเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด ของการแผนการขับเคลื่อนในครั้งนี้ ภาคส่วนต่างๆคงจะได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย
ข้อมูลจากงานแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือ “แผนงาน ขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีความก้าวหน้าของชาติ (National Progress Index)”

หากใครอ่านแล้วมีคำถามว่า จะติดต่อทีมงานหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน จัดให้เลยคะ ตามนี้นะคะ
แผนงานขับเคลื่อนสังคมดัวยดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าที่แท้จริง
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ (มนส.) 87/495 หมู่บ้านภัสสรรัตนาธิเบศร์ (ซอย 31)
ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
โทรศัพท์ 02-9209691-2 โทรสาร 02-9208845
e-mail: npithailand.th@gmail.com
facebook: "Npi Thailand"
www.npithailand.com
(ขอบคุณคุณศิริวัฒน์ แดงซอน จากมูลนิธินโยบายสุขภาวะที่ให้ข้อมูล)

และแล้ว การทำงานที่ท้าทายและน่าสนุกสนานก็ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง
แล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังใหม่นะคะ

จากกลมกลิ้งตัวแม่คะ

1 ความคิดเห็น: